มาตรฐาน green building SRI LEED Cycle คืออะไร

มาตรฐาน green building SRI LEED Cycle คืออะไร

สีสะท้อนความร้อน ผลิตภัณฑ์สีเขียวที่น่าจับตามองสำหรับมาตรฐาน Green building

สีสะท้อนความร้อน

เมื่อโลกของเรากำลังเผชิญหน้ากับปัญหาภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ClimateChange) ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในทุกวัน แนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืน (Sustainability) จึงได้กลายมาเป็นสิ่งที่หลาย ๆ กลุ่มธุรกิจและองค์กรต่างก็หยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดที่สุดจากการที่ประเทศไทยเริ่มมีอาคารเขียว หรือ Green building ที่มีการออกแบบ การก่อสร้าง ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุและผลิตภัณฑ์อย่างสีสะท้อนความร้อนหรือสีกันความร้อนที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

โดยในวันนี้เราจะขอพาทุกคนไปเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สีเขียวที่น่าจับตามองอย่างสีสะท้อนความร้อน สีกันความร้อน และสีทาหลังคากันรั่ว sunproof มาดูไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้ได้เลยว่าผลิตภัณฑ์สีกันความร้อนเหล่านี้มีจุดเด่นอะไรที่น่าสนใจ? และมีความเกี่ยวข้องกับมาตรฐาน Green building สำหรับอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ อย่างไรบ้าง?

ทำความรู้จักกับมาตรฐาน Green building

มาตรฐาน Green building หรืออาคารเขียว เป็นแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนาต่อยอดอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ให้กลายมาเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ผ่านการเลือกใช้สภาพแวดล้อม พลังงาน ทรัพยากร และผลิตภัณฑ์สีเขียวต่าง ๆ อย่างเช่น สีสะท้อนความร้อนและสีกันความร้อนสำหรับทาที่บริเวณตัวอาคารและหลังคา เป็นต้น เพื่อจุดประสงค์สำคัญในการช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีสาเหตุมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมจนนำไปสู่การลงทุนก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ตลอดจนอาคารสำนักงานที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการช่วยรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติต่าง ๆ เอาไว้อย่างยั่งยืน

โดยสำหรับอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่จะได้รับการประเมินว่าเป็น Green building หรืออาคารเขียว จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการประเมินด้วยระบบเกณฑ์การประเมินของ Leadership in Energy and Environmental Design หรือที่นิยมเรียกกันแบบสั้น ๆ ว่า LEED ซึ่งถือได้ว่าเกณฑ์การประเมินจาก U.S. Green Building Council หรือ USGBC ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการรวมตัวขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ สถาปนิก วิศวกร ตลอดจนผู้รับเหมาก่อสร้างต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก เพื่อทำการประเมินและให้คะแนนว่าอาคารและสิ่งปลูกสร้างแต่ละแห่งนั้นมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับที่มากหรือน้อยขนาดไหน

หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณามาตรฐาน Green building

สำหรับหลักเกณฑ์ที่ทาง LEED ได้นำมาใช้ในการประเมินมาตรฐาน Green building หรืออาคารเขียว ให้กับอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีนั้น จะสามารถแบ่งออกมาได้เป็น 8 หมวดหลัก ๆ ดังนี้

  1. ที่ตั้งและการคมนาคมขนส่ง (Location & Transportation) พิจารณาจากทำเลที่ตั้งของอาคารที่ไม่มีการบุกรุกพื้นที่สีเขียว อยู่ใกล้กับบริการขนส่งสาธารณะ และมีพื้นที่ว่างสำหรับการปลูกต้นไม้
  2. การใช้ประโยชน์จากที่ตั้งอย่างยั่งยืน (Sustainable Site) พิจารณาจากการก่อสร้างอาคารที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับทำเลที่ตั้งโดยรอบอาคาร ไม่ว่าจะเป็นการทำให้เกิดควันเสียและมลพิษ ตลอดจนการทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นที่โดยรอบเพิ่มสูงขึ้น
  3. ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (Water Efficiency) พิจารณาจากปริมาณการใช้น้ำสำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในอาคาร อย่างเช่น การใช้น้ำในห้องน้ำที่ลดลง
  4. พลังงานและบรรยากาศ (Energy & Atmosphere) พิจารณาจากการหันมาเลือกใช้งานพลังงานทางเลือกและการประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. วัสดุและทรัพยากร (Materials & Resource) พิจารณาจากการลดขยะในการก่อสร้างอาคาร และการนำวัสดุในการก่อสร้างต่าง ๆ หมุนเวียนกลับมาใช้งานใหม่
  6. คุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environmental Quality) พิจารณาจากการควบคุมสภาพอากาศภายในอาคาร ร่วมกับการเฝ้าระวังและหมั่นตรวจสอบระบบระบายอากาศอยู่เสมอ
  7. นวัตกรรมในการออกแบบ (Innovation) พิจารณาจากการนำเอาวิธีการหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีการกำหนดเอาไว้ในมาตรฐานของ LEED มาใช้งาน
  8. ลำดับความสำคัญของท้องถิ่น (Regional Priority) พิจารณาจากการจัดลำดับความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง

สีสะท้อนความร้อนและสีกันความร้อนเกี่ยวข้องอะไรกับ Green building

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า มีหลักเกณฑ์ต่าง ๆ มากถึง 8 ข้อ ที่เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องทำการออกแบบและพัฒนาให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ของตนเองนั้นสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน Green building หรือ อาคารเขียว ให้ได้มากที่สุด โดยสำหรับการเลือกใช้งานสีสะท้อนความร้อน สีกันความร้อน และสีทาหลังคากันรั่ว sunproof ก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่จะสามารถช่วยสนับสนุนให้อาคารก่อสร้างและอาคารสำนักงานต่าง ๆ สามารถผ่านเกณฑ์การประเมินและได้รับคะแนนจากการประเมินที่สูงมากขึ้นใน 3 หมวดหลัก ๆ ดังนี้

  1. พลังงานและบรรยากาศ (Energy & Atmosphere) การเลือกใช้งานสีสะท้อนความร้อน สีกันความร้อน และสีทาหลังคากันรั่ว sunproof สามารถช่วยให้อาคารประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลงได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยี EXTRA POLYMERIC MEMBRANE TECHNOLOGY (EPMT) ที่มีอยู่ในสีสะท้อนความร้อน และสีกันความร้อนของ SUNPROOF สามารถช่วยกระจายรังสีและพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์กลับสู่ชั้นบรรยากาศที่มากถึง 96.9 % จึงทำให้สามารถช่วยลดอุณหภูมิเฉลี่ยของหลังคาลงได้มากถึง 10-15 องศาเซลเซียส และช่วยให้เจ้าของอาคารสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานหรือค่าไฟฟ้าลงได้มากถึง 529 บาท ต่อตารางเมตร ต่อปี เลยทีเดียว

  2. วัสดุและทรัพยากร (Materials & Resource) หมวดหมู่เกี่ยวกับวัสดุและทรัพยากรเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในหมวดหมู่ที่หลาย ๆ คนอาจจะคิดไม่ถึงว่าสีสะท้อนความร้อน สีกันความร้อน และสีทาหลังคากันรั่ว sunproof จะสามารถช่วยสนับสนุนให้อาคารก่อสร้างและอาคารสำนักงานต่าง ๆ สามารถได้รับคะแนนในหมวดนี้เพิ่มมากขึ้นได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นสามารถช่วยได้เป็นอย่างดีเนื่องด้วยสีสะท้อนความร้อนและสีกันความร้อนเป็นสี waterbased ที่เป็นส่วนผสมของ Reflective Polymers จึงทำให้เนื้อสีสามารถเกาะยึดติดกับตัวผนังอาคารหรือหลังคาได้เป็นอย่างดี โดยมีการรับประกันสีผิวไม่หลุดลอกหรือเกิดการแตกร้าวนานถึง 5 ปี เพราะฉะนั้นแล้วในกรณีที่เจ้าของธุรกิจต้องการปรับปรุงอาคารก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำการทุบหรือรื้อผนัง พื้น และหลังคาออกไป เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้จะยังคงมีสภาพดีและสามารถใช้งานต่อไปได้อีกยาวนานนั่นเอง

  3. คุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environmental Quality)
    สีสะท้อนความร้อน สีกันความร้อน และสีทาหลังคากันรั่ว sunproof สามารถช่วยตอบโจทย์เกี่ยวกับการออกแบบให้สภาพแวดล้อมภายในอาคารอยู่ในช่วงสภาวะที่มีความสบายมากขึ้น เนื่องจากสีสะท้อนความร้อน สีกันความร้อน และสีทาหลังคากันรั่ว sunproof มีค่าดัชนีการสะท้อนความร้อน หรือ Solar Reflectance Index (SRI) ที่มากถึง 124 ในขณะที่เกณฑ์การประเมินทั่วไปนั้นจะมีการกำหนดค่า SRI เอาไว้ที่ไม่น้อยกว่า 78 เท่านั้น เพราะฉะนั้นแล้วสีกันความร้อนและสีสะท้อนความร้อนจาก SUNPROOF จึงไม่เพียงแต่จะสามารถช่วยสะท้อนพลังงานความร้อนออกจากตัวอาคาร แต่ยังสามารถช่วยยกระดับมาตรฐานของอาคารให้ได้รับการรับมาตรฐาน Green building หรือ อาคารเขียว ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

บริษัท สุภาพร สุขอุดม จำกัด ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสีสะท้อนความร้อน SUNPROOF สีทาหลังคาสะท้อนความร้อน สีทาหลังคากันรั่ว สีทาหลังคากันรั่ว sunproof และสีทากันซึมกันรั่ว สำหรับ โรงงาน อพาร์ทเม้นท์ โรงพยาบาล โรงเรียน ฟาร์มเกษตร ร้านค้า/ร้านอาหาร ร้านกาแฟ สถานประกอบธุรกิจต่าง ๆ หมดปัญหาเรื่องความร้อนและดาดฟ้ารั่วซึม รับประกันสีไม่หลุด 5 ปี รับประกันการรั่ว 2 ปี ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี สีทาหลังคาสะท้อนความร้อน SUNPROOF สามารถใช้ทาได้บนทุกพื้นผิวทั้งหลังคาเมทัลชีทและหลังคากระเบื้อง โดยมีค่าสะท้อนพลังงานความร้อน (Solar Reflectance) 96.9% จึงสามารถช่วยทำให้อุณหภูมิภายในตัวอาคารลดลงได้ถึง 10-15 ºC และมีค่าการยืดตัว (ELONGATION) เท่ากับ 925% ซึ่งสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของหลังคา ป้องกันการรั่วซึม และช่วยให้ผู้อยู่อาศัย ลูกค้า และพนักงานอยู่สบาย ประหยัดต้นทุน ลดค่าแอร์ค่าไฟได้ในระยะยาว


สอบถามเพิ่มเติมและสั่งซื้อ

Call center : 092 8659629

Email : udom8177@gmail.com

Line : Click

 

Visitors: 74,121